บ้านเมทัลชีทสีเขียว

บ้านเมทัลชีทสีเขียว

บ้านเมทัลชีทสีเขียว ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ความนิยมในการเลือกใช้วัสดุเมทัลชีท มาทำหลังคาบ้านได้รับความนิยมสูงมากในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะบ้านสไตล์ Modern ที่ต้องการความเรียบแบน มีความชันของหลังคาต่ำ

ซึ่งเมทัลชีทสามารถออกแบบ หลังคาได้ต่ำสุดถึง 5 องศา (ขึ้นอยู่กับชนิดของรูปลอน และความยาวของระยะแปของหลังคา) แต่หากใช้วัสดุกระเบื้องหลังคาซีแพ็คทั่วไป จะไม่สามารถทำได้ ครั้นจะใช้หลังคา Slab คอนกรีตก็มีต้นทุนที่สูงกว่ากันมาก ทางเลือกในการนำ เมทัลชีทมาใช้ทำหลังคาจึงได้คะแนนทั้งด้านดีไซน์ การติดตั้งที่รวดเร็ว และราคาก่อสร้าง

บ้านเมทัลชีทสีเขียว

เมทัลชีท คือ แผ่นเหล็กรีดลอนโลหะผสมระหว่าง อลูมิเนียม และสังกะสี เหมาะสำหรับทั้งงานภายในและภายนอก งานผนัง งานรั้วและงานหลังคา คุณสมบัติเด่นชัดของเมทัลชีท คือสามารถสั่งผลิตตาม ขนาดความยาวของหลังคาได้

จึงทำให้เกิดรอยต่อของแผ่นหลังคาน้อย ปัญหารั่วซึมจึงน้อยกว่า หลังคากระเบื้องทั่วไป อีกทั้งยังช่วยให้การติดตั้งหลังคาสามารถดำเนินการได้ไว น้ำหนักเบา จึงช่วยลดต้นทุนค่าแรงก่อสร้าง และค่าโครงสร้างบ้านได้เป็นอย่างดี

ปัจจุบันแผ่นเมทัลชีท มีให้เลือกหลายรุ่น หลายเกรด การนำมาใช้ร่วมกับบ้านจึงจำเป็นต้องกำหนดสเปคให้เหมาะสมแต่ละส่วนของบ้าน เพื่อให้เกิดการใช้งาน ที่สอดคล้องกับการอยู่อาศัย

แบบบ้านเมทัลชีทสีเขียว ลุคเรียบหรูดูแพง ภายในเล่นระดับ

บ้านเมทัลชีทสีเขียว

บ้านหน้าแคบลึก เล่นระดับให้ดูกว้าง หากพูดถึงบ้านเมทัลชีท หลายคนอาจจะนึกภาพบ้านผนังโลหะที่เหมือนการใช้งานไม่ยืนยาว แถมยังติดกับความรู้สึกว่าต้องร้อนแน่ๆ แต่ปัจจุบันนี้บ้านเมทัลชีทถือ เป็นวัสดุก่อสร้างที่เป็นตัวเลือกหนึ่งที่ใช้งานได้ดี เพราะมีหลายรุ่นใหม่ๆ ให้เลือก ตอบโจทย์บ้านยุคใหม่ทั้งคุณสมบัติ สี และการดีไซน์

หากใครกำลังคิดจะใช้วัสดุเมทัลชืท เรามีหนึ่งตัวอย่างบ้านเมทัลชีท ที่สะดุดตามาให้ชม กับ Verde House ตั้งอยู่ในย่าน Bintaro South Tangerang ประเทศอินโดนีเซีย ตัวบ้านโดดเด่นด้วยโทนสีเขียวที่สะดุดตา ภายในได้รับการออกแบบมาอย่างเหมาะสม เพื่อสร้างความรู้สึกสบายที่สุดใน การใช้ชีวิตสำหรับทั้งครอบครัว

โปรเจ็คนี้เป็นงานรื้อสร้างใหม่ในไซต์เก่าพื้นที่ 6×15 ม. ถือว่าขนาดไม่ใหญ่นัก และตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่น ดังนั้น พื้นที่ภายในจึงต้องออกแบบให้ดี เพื่อให้บ้านดูกว้างและะมีแสงสว่างเพียงพอ วิธีการออกแบบหลักสำหรับ Verde House คือการแบ่งความสูงของพื้นที่ เพื่อปรับการใช้งานให้เหมาะสม และนำวัสดุที่เหลือ จากอาคารเก่ากลับมาใช้ใหม่

ช่วยลดปริมาณขยะจากการก่อสร้างได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนภายนอกจะเป็นส่วนผสมระหว่าง เมทัลชีทสีเขียวใบไม้ เหล็กฉีกสีดำ บล็อกช่องลม และคอนกรีตเทาๆ ออกแบบส่วนหน้าให้เหมือนโรงนาสูง ๆ จากภายนอกจะเห็นเพียง 2 ชั้น แต่ภายในแบ่งออกเป็นชั้นย่อย ๆ ถึง 4 ชั้น

พื้นที่ในบ้าน Verde House แบ่งออกเป็น 3 ส่วนตามแนวนอน คือ พื้นที่ส่วนกลางอยู่หน้าบ้าน มีพื้นที่เปิดโล่งโถงสูงตรงกลางที่แบ่งพื้นที่ด้านหน้า และด้านหลัง พื้นที่ส่วนตัวจะอยู่ด้านหลัง และชั้น 2 ที่เป็นการเล่นระดับขึ้นไปเป็นห้องนอน ชั้นล่างสุดจะเป็นที่จอดรถ เข้ามามีห้องเก็บของ แล้วตามบันไดขึ้นมาสู่ชั้นแรกประกอบด้วย

บ้านเมทัลชีทสีเขียว

ห้องนั่งเล่น มุมทานข้าว และครัวอยู่บริเวณเดียวกัน จากนั้นจะเป็นบันไดไปสู่ห้องนอนและชั้นบน สำหรับส่วนที่กรุวัสดุเมทัลชีทด้านหน้าเพิ่มฉนวนกันความร้อน ทั้งผนังและหลังคา บ้านจึงคงความเย็นสบายไม่ร้อน ส่วนหน้าจะไม่ใช่โซนใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ค่อยมีคนใช้งานช่วงกลางวัน จึงไม่มีปัญหาในการใช้งาน

ตกแต่งมุมนั่งเล่น และครัวด้วยโทนสีเทา เขียวกำมะหยี่ ทำให้บ้านดูแข็งแกร่งด้วย โครงสร้างคอนกรีตเปลือย แต่คลาสสิคหรูหรากับงานผ้าและสีดำ พร้อมใส่ความเป็นธรรมชาติด้วยงานไม้ ชุดสี 3 สีนี้จับคู่เมื่อไหร่รับรองว่าไม่พลาด

ความสูงของพื้นที่มัก ทำให้มีการแบ่งแยก ตัวอย่างง่ายๆ ของบ้านที่มีตั้งแต่สองชั้นทั่วไป จะเทพื้นเพดานแบ่งระหว่างชั้นบนและชั้นล่างให้ตัดขาดออกจากกัน กว่าจะมาพบกันแต่ละครั้ง ก็ต้องเดินขึ้นลงบันไดไปที่ชั้นใดชั้นหนึ่ง

นี่จึงเป็นหนึ่งเหตุผลที่สถาปนิก เลือกใช้วิธีการเล่นระดับบ้านให้ค่อย ๆ สูงขึ้นไปทีละสเต็ป ทำให้แต่ละชุดการใช้งานมีความเชื่อมต่อกันได้แบบไม่สูงเกินไป เหมือนมีชั้นลอยที่มองเห็นกันได้ และใช้งานสะดวก แล้วสร้างช่องว่างเชื่อมต่อในแนวตั้งเพื่อลดอุปสรรคใน การปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน

ลานภายในที่ตั้งอยู่ตรงกลางของบ้านมีสเต็ปบันได ที่นั่งเล่นได้ บิลท์ดิดกับกระถางคอนกรีต ปลูกต้นไม้เขียวๆ ให้ความรู้สึกสดชื่น ขยับขึ้นไปจากส่วนนี้ จะเป็นห้องนอนประตูกระจก และชั้นสอง เหนือลานเป็นโถงสูงและมี skylight ดึงแสงลงมาช่วงกลางอาคาร บ้านจึงเหมือนมีพื้นที่กลางแจ้งภายใน บ้านเมทัลชีท

โดยพื้นฐานแล้วบ้านจะใช้ประโยชน์ จากพื้นที่ส่วนกลางของบ้านนี้ เพื่อเชื่อมต่อพื้นที่ใช้งาน เพิ่มความใกล้ชิดระหว่างสมาชิกในครอบครัว นอกจากนี้ยังช่วยให้อากาศภายใน อาคารไหลเวียนได้ดีขึ้น โดยไม่ทำให้รู้สึกร้อน ด้วยการเร่งการไหลของอากาศร้อนออกจาก บ้านผ่านช่องเปิดที่ออกแบบรับกันอย่างดี

ห้องนอนถูกจัดวาง ด้านหลังให้ความเป็นส่วนตัว ในแต่ละชั้นจะสามารถมองเห็น สวนที่คอร์ทยาร์ดกลางบ้านได้ ชั้นล่างมองขึ้นมาเห็นชั้นบน ส่วนคนที่อยู่ชั้นบนก็ ไม่ถูกตัดขาดจากพื้นที่อื่นๆ ของบ้าน เอกลักษณ์ของบ้านแบบนี้ทำให้อยู่ได้อย่างสนุกสนานไม่มีเบื่อ ลืมบ้านสองชั้นสามชั้นแบเดิมๆ ไปได้เลย

บ้านสีเขียวเนื้อที่แคบแต่ลึก

บ้านเนื้อที่แคบแต่ลึก เหมาะจะจัดแปลนแบบเล่นระดับ (Split Level) เพราะลักษณะของพื้นที่ใช้สอยภายในจะลดหลั่นกัน เนื่องจากการเทพื้นจะมี การเหลื่อมของพื้นที่เป็น การแบ่งฟังก์ชันอย่างเป็นสัดส่วน

โดยไม่มีพื้นเพดานหรือผนังปิดทึบ จึงไม่ทำให้รู้สึกอึดอัด และใช้บันไดเป็นตัวเชื่อมระหว่างพื้นที่ สร้างช่องว่างใจกลางอาคารให้แสงและอากาศ ไหลเวียนภายใน ลดข้อจำกัดเรื่องแสง ของบ้านหน้าแคบได้ดี นอกจากในเรื่องการใช้งานแล้ว บ้านเล่นระดับยังทำให้บ้านมีลูกเล่น เติมมิติของพื้นที่ใช้งาน ให้ดูน่าสนใจกว่าการวาง ระดับพื้นในระนาบเดียวกัน

เหตุผลที่เจ้าของบ้าน ควรเลือกหลังคาเมทัลชีทด้วยตนเอง

หลังคาเมทัลชีท สีเขียว

1.ความหนาต่างกัน การใช้งานต่างกัน
โดยทั่วไปผู้รับเหมาจะนิยมเลือกวัสดุหลังคาเมทัลชีท ที่มีความหนา 0.3 มิลลิเมตรให้กับเจ้าของบ้าน เป็นสเปคความหนาระดับพื้นฐานที่สามารถนำมาใช้ทำหลังคาบ้านได้ แต่หากเจ้าของบ้านต้องการคุณภาพในการใช้งาน ทั้งการลดเสียงรบกวนเมื่อฝนตก ลดความร้อนให้กับตัวบ้าน ความหนา 0.3 มิลลิเมตร

จัดเป็นสเปคเริ่มต้นเท่านั้น ความหนาที่แนะนำให้เจ้าของ บ้านเลือกใช้ ควรมีความหนา 0.4-0.47 มิลลิเมตร หรืออย่างน้อยที่สุด 0.35 มิลลิเมตร และที่ต้องระวังอย่าเลือกความหนาต่ำกว่า 0.3 มิลลิเมตรเด็ดขาด เพราะความหนาระดับนี้จะไม่เหมาะกับงานหลังคา แต่เป็นงานรั้วหรืองานอื่น ๆ ที่ไม่ได้ต้องการความทนทานมากนัก

2.หลังคาเมทัลชีททั่วไป ไม่ได้เคลือบสีให้นะ
หลังคาเมทัลชีททั่วไป สามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ แบบเคลือบสีและไม่เคลือบสี ซึ่งโดยส่วนมากเราจะได้ยินคำพูดจากช่างและผู้รับเหมาบ่อยครั้งว่า “สเปคเท่านี้ก็พอแล้วครับ ใช้งานเหมือนกัน” เป็นเพราะผู้รับเหมาส่วนใหญ่จะยึดมาตรฐานจากตนเองเป็นที่ตั้ง ยิ่งหากเป็นหลังคาเมทัลชีท ที่ออกแบบลักษณะหลังคาแบนหรือหลังคาหมาแหงน ผู้อยู่อาศัยแทบจะมองไม่เห็นหลังคา ผู้รับเหมาจึงมักบอกให้เจ้าของ บ้านเลือกแบบธรรมดา (ไม่เคลือบสี) ก็เพียงพอ

3.ฉนวนกันร้อน ของมันต้องมี
ปฏิเสธไม่ได้ว่า หลังคาเมทัลชีทซึ่งผลิตจากวัสดุโลหะ เป็นวัสดุที่นำความร้อนได้ ดีกว่ากระเบื้องหลังคาทั่วไป แต่เมทัลชีทเองก็มีข้อดีหลาย ๆ ด้าน เช่น คลายความร้อนได้ไว, ติดตั้งรวดเร็ว, น้ำหนักเบาและรองรับการทำหลังคาได้หลากหลายรูปทรง ผู้ใช้งานจึงจำเป็นต้องเรียนรู้จุดเด่น และจุดด้อยของวัสดุนั้น ๆ การนำเมทัลชีทมาใช้งานจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ร่วมกับฉนวนกันร้อนเสมอ บ้าน 2 ชั้น

4.ใช้ช่างเฉพาะทางด้านงานหลังคาเมทัลชีทโดยเฉพาะ
หากเป็นผู้รับเหมาที่มีความชำนาญ มีประสบการณ์ในการสร้างบ้านมามาก เมื่อเลือกสเปคหลังคาเรียบร้อยแล้ว เจ้าของบ้านสามารถมอบหน้าที่ การติดตั้งหลังคาให้กับ ผู้รับเหมาได้เลยครับ แต่ปัญหาส่วนใหญ่ที่พบ

เจ้าของบ้านส่วนหนึ่งทำการบ้านใน การคัดสรรผู้รับเหมาค่อนข้างน้อย ทำให้เจอกับผู้รับเหมาที่ขาดประสบการณ์และพบเจอปัญหาในกระบวนการติดตั้ง เช่น สเปคเมทัลชีท ไม่สัมพันธ์กับระยะแป , ช่างติดตั้งไม่ถูกวิธี, ติดตั้งหลังคาแอ่นตกท้องช้าง หรือแม้แต่ปัญหาที่เล็ก ๆ ที่เกิดจากการไม่ทำความสะอาด หลังคาเมื่อติดตั้งเสร็จ แต่ผลที่ได้กลับกลายเป็นต้นเหตุของปัญหาบานปลายในระยะยาว