ออฟฟิศฟาซาดอิฐ

ออฟฟิศฟาซาดอิฐ

ออฟฟิศฟาซาดอิฐ

ออฟฟิศฟาซาดอิฐ เราทุกคนล้วนมีจังหวะของชีวิตที่เป็นของตัวเอง บางคนอาจจะค่อย ๆ ก้าวช้าๆ อย่างมั่นคง บางคนโลดโผนโจนทะยานก็เป็นสีสันที่ไม่เหมือนใคร สำหรับงานสถาปัตยกรรม Rhythm กลายเป็นคำสำคัญสำหรับสถาปนิกในการออกแบบอาคาร ไม่ว่าจะเป็นจังหวะของเส้น สี ช่องว่าง พูลวิลล่าชะอํา

ความทึบความโปร่งที่ทำให้แต่ละอาคารมีเอกลักษณ์  อย่างอาคารหลังนี้ที่ชื่อ THE EQUALIZER  ตั้งอยู่ในเมืองเบกาซิ ประเทศอินโดนีเซีย เป็นโปรดักชั่นเฮาส์ สตูดิโอดนตรี และโรงเรียนสอนบัลเลต์ จึงเป็นแนวคิดเชิงสถาปัตยกรรมเชิงเปรียบเทียบของจังหวะในกิจกรรมในชีวิตของเรา โดยใช้ดนตรีและจังหวะเป็นแนวคิดหลักที่ขับเคลื่อนดีไซน์ของอาคาร

อาคารฟาซาดอิฐจัดจังหวะในอาคารอย่างสมดุล

ออฟฟิศฟาซาดอิฐ

การจัดระเบียบโครงการ ของ DELUTION สถาปนิกแบ่งมวลออกเป็น 2 ส่วนหลัก วางเคียงกันของระดับสูงและต่ำ เหมือนสัญลักษณ์การเคลื่อนไหวของมือของคอนดักเตอร์ที่จะตวัดไม้บาตองสูงต่ำบอกจังหวะ ความดังความเบา ระหว่างมวลใส่ที่ว่างเป็นทางเข้าและกลายเป็นทางเดินรูปตัว T ที่พักสวนผึ้งติดลําธาร

ซึ่งทำให้เกิดเอฟเฟกต์ Triple Cross Ventilation ให้ลมและแสงแดดสามารถเข้าและออกจากเส้นทางที่แตกต่างกัน 3 ทาง ตัวอาคารได้รับการออกแบบ Glassless ซึ่งหมายถึงกระจกน้อยที่สุด เนื่องจากกิจกรรมหลักใน Studio Music และ Studio Film Production ต้องการสภาพพื้นที่ที่ไม่มีเสียงและแสงรบกวน จึงใช้อิฐเป็นฟาซาดแล้วจัดจังหวะแสงภายในเอง

แม้แต่แผ่นพื้นที่ปูเป็นทางเดินหน้าอาคารก็ใช้ลักษณะแผ่นทางเดินสี่เหลี่ยมผืนผ้า สลับ texture มีทั้งคอนกรีตเปลือย พื้นผิวหินทาสีขาวสลับหินสีดำ และพื้นหญ้าเป็นช่องๆ ดูแล้วเหมือนคีย์บอร์ดเปียโนที่กำลังบรรเลงเพลงอยู่อย่างมีชีวิตชีวา

อาคารฟาซาด

ชั้นล่างเป็นพื้นที่สำหรับจอดรถ เดินขึ้นบันไดมาจะมีใต้ถุนนั่งเล่นหน้าอาคาร ใส่ลูกเล่นของไฟเพดานเหมือน midi controller ที่จะมีแสงไฟ LED ตามปุ่มกด ด้านหน้าของอาคารนี้มีกระจกบานเล็กๆ ยื่นออกไป ไม่เพียงแต่เป็นเครื่องเพิ่มประสิทธิภาพกันเสียงเท่านั้น แต่ยังทำหน้าที่เป็นที่บังแดดทิศตะวันตกที่ด้านหน้าของอาคารนี้ด้วย

แต่ละชั้นจะมีพื้นที่ส่วนกลางแบบเปิด เป็นพื้นที่สำหรับปฏิสัมพันธ์กับแขกผู้มาเยือน อาจจะเป็นผู้ปกครองที่มาส่งเด็ก ๆ เรียนหรือเพื่อนๆ ของนักเรียน มุมโปรดของทุกคนอยู่ที่ชั้นหนึ่งมีร้านกาแฟเล็กๆ ที่มีสระน้ำเป็นเสมือนเครื่องทำความเย็นเข้าไปในทางเดินหลักของอาคารนี้ พื้นที่จอดรถและกำแพงกั้นสร้างด้วยองค์ประกอบที่เขียวขจี

จึงมีส่วนช่วยให้สภาพอากาศในอาคารใกล้จุดนี้เย็นลงได้ ส่วนผนังของทางเดินในอาคารสร้างจากปูนปั้น pelondan และยังมีป้ายไม้แกะตัวอักษรซ่อนไฟ LED ข้างหลัง ซึ่งจะยิ่งเด่นเมื่อแสงธรรมชาติเริ่มหมดจึงสร้างความประทับใจที่ไม่เหมือนใคร

อาคารนี้มี 3 หน้าที่หลักคือ Production House, Music Studio และ Ballet Studio สถาปนิกพยายามค้นหาสิ่งที่ใส่ลงไปในองค์ประกอบของอาคารที่เป็นตัวแทนของจังหวะนั้น เหมือนการขึ้นและลงของอีควอไลเซอร์ (อุปกรณ์ในระบบเสียง มีหน้าที่ในการควบคุมและชดเชยย่านความถี่ของเสียง) ที่เราจะเห็นปุ่มนับสิบๆ

อาคารฟาซาด

ในทุกห้องจะมีจังหวะของการใช้สีที่แตกต่าง ฟาซาด การใส่ช่องว่าง ความทึบ ความโปร่ง และลูกเล่นของแสง แต่จะใช้ส่วนประกอบของกระจกน้อยที่สุด

ที่มีความสูงต่ำไม่เท่ากันเป็นสัญลักษณ์หลัก เช่น หน้าอาคารคือ ‘สมดุล’ ของอิฐ ตามด้วยรูปของโคมไฟเพดาน มือจับ การตกแต่งผนัง พื้นที่ป้าย และเพดานของสตูดิโอ ล้วนอยู่ในรูปที่เหมือนช่วงคลื่นเสียงสั้นยาวของอีควอไลเซอร์ ทำให้อาคารหลังนี้มีจังหวะเหมือนกิจกรรมที่ทำ

หากเดินตามบันไดคอนกรีตมาเรื่อยๆ บันไดก็จะพาขึ้นไปชั้น 2 และ 3 ที่ทำเป็นชั้นดาดฟ้า มีสวนเล็ก ๆ ที่จะเพิ่มความเป็นมิตรกับธรรมชาติเอาไว้ที่นี่ เมื่อขึ้นมาก็จะสูดกลิ่นอายของต้นไม้ สายลม แสงแดด วิวเมือง และท้องฟ้าที่ไกลสุดลูกหูลูกตา เป็นหนึ่งหนึ่งจังหวะที่สถาปนิกไม่ลืมที่จะใส่ลงไปเพื่อลดทอนความดิบกระด้างของอาคาร สังเกตว่าหลังต้นไม้จะมีช่องว่างระหว่างปริมาตรทั้งสองส่วน ซึ่งจะกลายเป็นทางเดินรูปตัว T ที่ใช้เป็นช่องทางการหมุนเวียนและการระบายอากาศตามธรรมชาติ

อาคารฟาซาด

ตามหลักของการทำห้องสตูดิโอไม่ว่าจะเป็นการร้องเพลง การซ้อมดนตรีจะเป็นอคูสติกหรือการเก็บเสียง ซึ่งในจุดนี้จะมีรายละเอียดพอสมควร เช่น วัสดุผนังห้อง เพดานห้อง พื้นห้อง วัสดุซับเสียงต่างๆ ก็มีความสำคัญที่จะส่งผลโดยตรงกับคุณภาพของการใช้เสียง เพื่อให้ผลรับฟังที่ถูกต้องและเป็นธรรมชาติมากที่สุด ลดเสียงสะท้อน และป้องการการถูกรบกวนจากเสียงภายนอก ดังนั้นจึงใช้วัสดุกระจกในพื้นที่น้อยที่สุด หรือหากจะใช้ก็ควรเป็นกระจกกันเสียง ที่มีนวัตกรรมการลดเสียงรบกวนจากภายนอก พูลวิลล่าชะอํา

Facade (เปลือกอาคาร) คืออะไร

ฟาซาด (Facade เป็นคำเรียกในภาษาฝรั่งเศส) ที่หมายถึงโฉมหน้า แต่พอนำมาใช้เป็นศัพท์ด้านสถาปัตยกรรมจะมีความหมายว่า องค์ประกอบด้านหน้าอาคาร หรือ รูปด้านอาคารที่มองเห็นได้ชัดเจน ซึ่งในปัจจุบันมีความหมายที่ครอบคลุมทั้งในส่วนที่เป็นองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมอื่นๆ เช่น หน้าต่าง กันสาด  ชายคา 

ระเบียง ช่องเปิดต่างๆ ไปจนถึงสิ่งตกแต่งปลีกย่อยของอาคาร เช่น เสาพอก ลายปูน บัวประดับผนัง รูปปั้น ซุ้มประตู เป็นต้น ในปัจจุบันเราเรียกองค์ประกอบภายนอกอาคารเหล่านี้ว่า “เปลือกอาคาร หรือ Facade” นั่นเอง ซึ่งคอยทำหน้าในการป้องกันอาคารจากสภาพแวดล้อมภายนอก ช่วยรักษาความสมดุลระหว่างพื้นที่ภายนอก และภายในอาคาร อีกทั้งยังช่วยสร้างอัตลักษณ์เฉพาะตัวที่มีความสวยงามให้กับอาคาร อ่านเพิ่มเติม

ในแง่ของการออกแบบนั้นนักออกแบบ หรือ สถาปนิกส่วนใหญ่ จะทราบถึงอิทธิพลของ Facade เป็นอย่างดี เพราะ Facade เป็นองค์ประกอบการออกแบบสุนทรียศาสตร์ทางด้านสถาปัตยกรรมที่สามารถสร้างความต่างระหว่างคำว่า อาคาร และ สถาปัตยกรรม ได้ชัดเจน ฉะนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจถ้าเราจะเห็นนักออกแบบ หรือ สถาปนิก ขมักเขม้นกับการให้ความสำคัญในการออกแบบ Facade หรือ เปลือกอาคาร ไม่ต่างจากองค์ประกอบทางด้านสถาปัตยกรรมส่วนอื่นๆ